วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การถ่ายฝากตัวอ่อน

การถ่ายฝากตัวอ่อน
เป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบใหม่วิธีหนึ่ง
โดยมีหลักการสำคัญคือ การนำตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์  แล้ว นำไปฝากใส่ในมดลูกของตัวเมียตัวอื่นที่เตรียมไว้เพื่อให้ตั้งท้องแทนแม่ พันธุ์ ซึ่งทำให้สามารถ ใช้ประโยชน์จากแม่พันธุ์ได้อย่างคุ้มค่าเพราะแม่พันธุ์มีหน้าที่เพียงผลิต ตัวอ่อน  โดยไม่ต้องตั้งท้อง  ซึ่งเป็นวิธีการถ่ายฝากตัวอ่อนนี้จะทำได้แต่เฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นตัว  และออกลูกครั้งละ 1 ตัว และใช้เวลาตั้งท้องนาน
วิธีการและขั้นตอนการถ่ายฝากตัวอ่อน               
การถ่ายฝากตัวอ่อนจะทำให้ได้ตัวอ่อนมากขึ้น  ซึ่งมีวิธีและขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกแม่พันธุ์ที่ดี  แล้วกระตุ้นให้ไข่ดกและตกไข่ครั้งละหลายๆฟองด้วยการฉีดฮอร์โมน
2. เตรียมตัวเมียที่จะรับฝากตัวอ่อน โดยใช้ฮอร์โมนฉีดกระตุ้นให้มีความพร้อมที่จะตั้งท้อง
3. ทำการผสมเทียม โดยฉีดน้ำเชื้อของตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์เข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ในช่วง ไข่ตกข้อ 1 หรือปล่อยให้ตัวผู้หรือพ่อพันธุ์ ผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติ  ทำให้ไข่หลายฟองได้รับการปฏิสนธิแล้วเจริญกลายเป็นตัวอ่อนอยู่ในมดลุกหลายตัวพร้อมกัน
4. ใช้เครื่องมือดูดเอาตัวอ่อน ออกจากมดลูกของแม่พันธุ์มาตรวจสอบและคัดเลือกเอาเฉพาะตัวอ่อนที่สมบูรณ์ดี เท่านั้นโยต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝาก
5. นำตัวอ่อนที่ผ่านการตรวจสอบและคัดเลือก แล้วนำไปใส่ฝากในมดลูกของตัวเมียที่เป็นตัวรับฝากตัวอ่อนที่ได้เตรียมไว้โดย ต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝาก
ข้อดีของการถ่ายฝากตัวอ่อน               
หลังจากการถ่ายฝากตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ในมดลูกจนสมบูรณ์ดี จึงคลอดออกมาพร้อมๆกัน การถ่ายฝากตัวอ่อนมีดังนี้
1. ทำให้ได้ลูกจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์คู่เดียวจำนวนมากในการผสมพันธุ์กันเพียงครั้งเดียว
2. ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตสัตว์ได้เป็นอย่างดี
3. สามารถเก็บรักษาตัวอ่อนเอาไว้ได้นานโดยการแช่แข็งซึ่งสามารถจะนำมาใช้ถ่ายฝากให้กับตัวเมียอื่นๆได้ทุกเวลาตามที่ต้องการ
4. ทำให้ได้ลักษณะสัตว์ที่ดีตามความต้องการในปริมาณมาก

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความสำคัญและความจำเป็นของการใช้โปรแกรม power point

ความสำคัญและความจำเป็นของการใช้โปรแกรม power point

      ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การทำธุรกิจหรือว่าการศึกษาก็แล้วแต่นั้น จะเห็นได้ว่าเกือบทุกกิจกรรมของมนุษย์นั้นจำเป็นที่จะ
ต้องมีการสื่อสารอธิบายให้ผู้อื่นได้ทราบ ฉะนั้นก็เลยมีความจำเป็นในเรื่องของการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งป้จจุบันนี้ในวงการต่าง ๆ หรือว่า
ในสถาบันการศึกษา การนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้ที่เราต้องการจะอธิบายให้ฟังได้เข้าใจและรับทราบโดยรวดเร็วส่วนใหญ่ก็มักจะนำเสนอ
โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์ power point มักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่าโปรแกรม power point เพราะว่าโปรแกรมตัวนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้
งานไม่ยากและส่วนใหญ่แล้วในหน่วยงานต่าง ๆ มีใช้งานอยู่แล้ว เพราะอยู่ในชุดของ Microsoft office เรียกว่าไม่ต้องไปเสียเงินซื้อเลย
เพราะจะมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราซื้ออยู่แล้วและใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง

ปัญหาอุปสรรคในการใช้ power point1. การใช้ power point นั่นจะมีหลาย ๆ ท่านพยายามที่จะนำไปใช้และปรากฏว่านำไปใช้แล้วแทนที่จะไปทำให้เกิดความเข้าใจกับผู้ฟังกลับกลายเป็นว่าไปทำความสับสนให้กับคนที่มาฟังสับสนเพิ่มขึ้นเพราะเนื่องจากว่าไม่เข้าใจหลักของการรับรู้ของมนุษย์เท่าที่สังเกตดูจะเห็นว่า power point ไม่ใช้โปรแกรม word หรือ โปรแกรมบรรจุถ้อยคำลงไปเยอะ ๆ ฉะนั้นหลายคนพอนำมาใช้เสนอข้อมูลพยายามที่จะใส่ถ้อยคำเข้าไปเต็มวัตถุประสงค์ของ power point นั้นไม่ใช่คนมายืนอ่านตามข้อความ แต่จุดประสงค์คือ ใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ผู้ฟังติดตามและเข้าใจประเด็นที่ผู้พูดกำลังพยายามอธิบาย ฉะนั้นในการนำเสนอข้อมูล power point นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องใส่รายละเอียดลงไป เต็มที่ เหมือนกับให้เขาอ่านหนังสือ2. เมื่อไม่เข้าใจตรงนี้แล้ว คนจะนำเสนอข้อมูลคือไปยืนอ่าน Power point ให้ฟังซึ่งจริง ๆ แล้วคนที่มาดูนั้นเขาอ่านหนังสือเป็นกันหมด จะต้องนำเสนอเพิ่มเติมก็ควรจะเป็นสิ่งที่นอกเหนือเพิ่มเติมควรจะเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากใน Power point ซึ่งใน power pointจะใส่เฉพาะประเด็นหลัก ๆ ให้เขาเข้าใจตอนนี้กำลังอยู่ในประเด็นไหน ข้อไหน ไม่ควรที่จะใส่รายละเอียดและยืนอ่านให้ฟังอันนี้ก็จะผิดวิธีการใช้ power point ไป
3. อีกประเด็นหนึ่ง หลายคนยังไปติดกับรูปแบบหรือ template ของ power point เนื่องจากว่าหลาย ๆ ท่านจะชอบใช้คือในรูป
แบบโปรแกรมของ power point จะมีรูปแบบให้เลือกใช้มากมายหลายอย่าง บางคนชอบอะไรที่มีการเคลื่อนไหวมากมาย ซึ่งจริง ๆ แล้ว
ทางนักสื่อสารหรือวิชาการทางด้านการสื่อสาร เนื้อหาใน power Point สำคัญกว่ารูปแบบที่นำเสนอเพราะถ้าเนื้อหาไม่ได้เรื่อง ไม่มีอะไร
เลยหรือไปสื่อความแล้วสับสน ไม่ว่ารูปแบบจะดีอย่างไรก็ไม่ทำให้คนฟังเข้าใจดีขึ้น การที่อะไรที่เคลื่อนไหวมากมาย เป็นการรบกวนสมาธิ
ผู้ฟังเสียด้วยซ้ำ อันนี้ก็คือปัญหาของการนำไปใช้


แนวทางการแก้ปัญหาในการใช้โปรแกรม power point
วิธีแก้ไขก็คงจะต้องจะมาดูในเรื่องของการรับรู้ของคนเป็นหลักว่าการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างไรและก็นำเสนอให้ตรงกับธรรมชาติ
การรับรู้ของมนุษย์คือท่านอาจารย์พัสสุได้ให้คำแนะนำไว้ประมาณ 5 ข้อ แต่ก่อนจะถึงตรงนั้นจะอธิบายสั้น ๆ ว่าโดยทั่วไปมนุษย์นั้นจะมี
การรับรู้จากตา กับหูเป็นหลักเพราะฉะนั้นการที่จะให้ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสองช่องทางนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกันไม่ใช่ว่าภาพเป็น
อย่างหนึ่งเสียงเป็นอย่างหนึ่ง อย่างนี้จะขัดกันคนฟังก็จะสับสน ฉะนั้นท่านก็เลยให้คำแนะนำว่าเวลาที่ใช้ power point นั้น
1. ก็คือว่าจะต้องเขียนหัวข้อของเรื่องการนำเสนอไว้ทุกครั้ง คือเป็นหัวข้อที่อธิบายหลักการสำคัญคือแก่นของเรื่องที่จะนำเสนอใน
Power point แผ่นนั้นไว้ เนื่องจากว่าต้องการจะเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นถ้าสิ่งที่นำเสนอมีการจัดรูปแบบหรือว่ามีหัวข้อที่ชัดเจน ลองนึงถึงพาด
หัวหนังสือพิมพ์บางฉบับจะพาดเก่งมากเลยคืออ่านแค่พาดหัวแทนจะรู้ทั้งหมดเลย เขาบอกว่าถ้าทำได้อย่างนั้นจะดียิ่ง เพราะฉะนั้นจะ
ต้องมีหัวข้อที่จะนำเสนอไว้ทุกครั้งไม่ใช่ออกมามีเนื้อหาเลย
2. อย่าพยายามใส่ทุกอย่างลงไปในสไลด์แผ่นเดียวหรือ power point ที่นำเสนอแต่ละหน้านั้นก็ใส่เท่าที่เราต้องการเน้น เนื่องจาก
ว่าคนเราจะเรียนรู้ได้ง่ายกว่า ถ้าข้อมูลที่ได้นั้นมีขนาดที่พอเหมาะไม่มากเกินไป ถ้าพยายามที่จะนำเข้อมูลต่าง ๆ ใส่ลงไปในสไลด์แผ่น
เดียวก็จะกลายเป็นการยัดเยียดข้อมูลให้ผูรับมากเกินไปซึ่งก็อาจจะอะไรไม่ได้เพราะมากเกินไป
3. อย่าพยายามใส่เนื้อหาที่เป็นข้อความให้มากเกินไปเนื่องจากว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นถ้าเป็นภาพ มนุษย์จะรับรู้ได้ดีกว่าเป็น
ข้อความเยอะ ๆ ฉะนั้นเวลาที่ใช้ภาพ อาจจะใช้แทนคำพูดได้เป็นร้อย ๆ ภาพ หลักข้อนี้ก็อย่าพยายามที่จะใส่เนื้อหาเข้ามาให้มากจนเกินไป
แต่เราต้องการที่จะขยายความรายละเอียดก็วิธีการอธิบายเพิ่มเติมจะดีกว่า
4. ถ้าหากว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีขัอความที่เป็นลักษณะของข้อเขียน ซึ่งบางครั้งก็เลี่ยงไม่ได้เหมือนกัน ซึ่งบางครั้งจำเป็นที่จะ
ต้องใส่ข้อความหรือตัวหนังสือ ท่านก็แนะว่าก็ควรที่จะมีรูปประกอบด้วย เนื่องจากว่าคนเมามีแนวโน้มหรือมีความชอบที่จะเรียนรู้หรือดูภาพ
มากกวาที่จะดูข้อความหรือตัวหนังสือเยอะ ๆ


5. สิ่งใดก็แล้วแต่ที่ไม่สนับสนุนให้เกิดการรับรู้ในแต่ละเฟรมแต่ละสไลด์นั้นก็ไม่ควรจะใส่ลงไป เช่นบางทีก็ใส่อะไรเข้าไปไม่รู้ใน
สไลด์ power point ซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาที่นำเสนอเลยซึ่งลักษณะนี้จะทำให้คนที่ดูหรือฟังเกิดความสับสนเนื่องจากว่าสมองคนเราในการ
รับรู้แต่ละภาพแต่ละเฟรมไม่อาจจะรับรู้รายละเอียดได้ทั้งหมด สมองคนเรานั้นจะรับรู้เฉพาะในส่วนที่เป็นแก่นสำคัญของเรื่องก็เป็นคำ
แนะนำที่ท่านอาจารย์พัสสุได้ให้คำแนะนำ และตรงกับที่ผมคิดอยู่

ถ้ากลุ่มผู้ฟังมีความแตกต่างในเรื่องวัยหรือระดับการศึกษาหรือวิชาชีพมากนั้นก็ค่อนข้างที่จะเป็นปัญหาสำหรับผู้นำเสนออยู่เหมือน
กัน ฉะนั้นก็อาจจะต้องใช้ หลักที่เป็นกลางว่าพยายามเน้นความเรียบง่ายข้อมูลไม่เยอะไม่ต้องใส่เทคนิคพิเศษแพรวพราวมากเกินไป แต่
ถ้าเป็นกลุ่มที่สามารถเลือกกลุ่มผู้ฟังได้ เช่น กลุ่มวัยรุ่นอาจจะทำให้มีลูกเล่นมากตามสาควรได้หรือถ้าเป็นผู้ใหญ่มาก ๆ ต้องพยายามให้
เรียบง่ายมาก ที่สุด คือต้องพยายามรู้ข้อมูลของกลุ่มผู้ฟังให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จะได้เตรียม Power point ได้เหมาะกับกลุ่มผู้ที่จะ
ฟังเรื่องที่จะนำเสนอ


เรื่องปฏิสัมพันธ์เป็นเรื่องสำคัญเพราะเวลาที่พูดนาน ๆ ถ้าไม่ใช่นักพูดประเภทสะกดคนฟังนั้น พูดแต่ฝ่ายเดียวนั้น นาน ๆ ไปผู้ฟัง
อาจจะเบื่อได้ ฉะนั้นบางที่ต้องคุยกับผู้ฟังในเรื่องนั้นบ้าง เช่นอาจะเป็นเรื่องสุขภาพ อากาศ การเมือง คือเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวที่ผู้ฟังหรือ
วิทยากรฟังแล้วเกิดความคุ้นเคยก็เป็นการเตรียมการให้เขาผ่อนคลายจากเรื่องที่นำเสนอ แล้วถึงค่อยกลับมาเข้าสู่เรื่องที่นำเสนอ บางที
เรื่องที่นำเสนอก็เป็นทั้งเรื่องที่เครียดบ้าง


ข้อเสนอแนะในการใช้โปรแกรม power point
โปรแกรม power point ปัจจุบันนั้นมีลูกเล่นได้สารพัด ฉะนั้นการที่มีลูกเล่นสารพัดนั้นบางทีกลายเป็นจุดที่ทำให้เวลาผู้ฟังหรือผู้ดู
นั้นเกิดความสับสน ฉะนั้นอยากจะ เรียนแนะนำในเบื้องต้น อย่าพยายามที่จะทำเทคนิคพิเศษจนมากเกินไป จนไป บดบังความสำคัญของ
เนื้อหา และนอกนั้นจะมีเทคนิคพิเศษนิดหน่อยคืออย่างเช่น สามารถที่จะสีของตัวอักษร หรือสี background หรือสีพื้นหลังอย่าตัดกันให้
มากเช่น ถ้าตัวอักษรสีขาว พื้นหลังควรจะเป็นสีเข้มเช่นสีน้ำเงินหรือสีเข้ม ๆ อย่าใช้สีอ่อนเพราะจะมองไม่ค่อยเห็น นอกจากนี้ภาพที่มานำ
เสนอนั้นจะต้องให้มีความสอดคล้องกลมกลืนกับเรื่องที่นำเสนอ และอย่าให้ภาพนั้นสำคัญมากจนกระทั่งไปลดความสำคัญของเนื้อหาสาระ
ที่นำเสนอ แต่ถ้าเราสามารถใช้ภาพที่จะอธิบายแทนสาระหรือข้อความที่เป็นหนังสือยาว ๆ ได้ก็จะเป็นการดี


แนวคิดหลักก็ยังเป็นที่ถกเถียง 2 แนวคือ วิทยากรบางท่านบรรยายแล้วท่านบอกว่า ตัวที่เป็นเอกสารที่เป็นรายละเอียดนั้นอย่าเพิ่ง
แจก เพราะว่าถ้าแจกนั้นตัวผู้ฟังเขาจะไม่ค่อยฟังวิทยากร จะมามัวแต่อ่านเอกสาร แต่บางท่านก็บอกว่าไม่ซีเรียสเรื่องนี้แต่ถ้าเป็นแนวคิด
ผมจะค่อนข้างเห็นด้วยกับแนวความคิดแรกคือเอาไว้แจกตอนหลัง ตอนแรกอธิบายด้วย power point กับด้วยคำพูดให้ได้ concept
ที่แจ่มชัดเสียก่อน ส่วนรายละเอียดนั้นแจกตอนหลังให้เขาไปอ่านเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง






ผู้จัดทำ

เด็กหญิง จุฑารัตน์  ทิพย์แสง
ชื่อเล่น  แตงโม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1
เลขที่ 17
โรงเรียนชุมชนบ้านพุเตย
ต. พุเตย อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
เพชรบูรณ์ เขต 3
เกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2541

อาหารที่ชอบ

ผัดกระเพราหมูกรอบ
ลาดหน้า
ข้าวผัดไข่

ผลไม้ที่ชอบ

มังคุด
ส้มโอ
แตงโม
เงาะ
( แทบจะทุกอย่าง)

อาศัยอยู่ที่

79/1  ม. 1 ต.พุเตย อ.วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์